สแตนเลส เหล็กกล้าไร้สนิม

Aug 21, 2023
เรื่องทั่วไป
สแตนเลส เหล็กกล้าไร้สนิม

สแตนเลส เหล็กกล้าไร้สนิม

ในโลกนี้มีแร่เหล็กอยู่มากมายที่เราค้นพบและแร่เหล็กที่มักจะถูกนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุดในอุตสากรรมในปัจจุบัน ซึ่งสามารถนำไปทำปฏิกิริยาเคมีให้กลายเป็นเหล็กชนิดต่างๆ ซึ่งจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป และหนึ่งในประเภทของเหล็กที่เรารู้จักกันดีคือ สแตนเลส (Stainless Steel) มีคุณสมบัติเด่นในเรื่องความต้านทานการกัดกร่อนสูง  จึงนิยมนำเอามาใช้งานในหลายๆ ด้านเพราะคุณสมบัติที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ดี โดยเฉพาะความคงทนในด้านการถูกกัดกร่อนจนทำให้เกิดสนิม เมื่อเทียบกับวัสดุชนิดอื่น สามารถขึ้นรูปได้ง่ายจากการเชื่อม มีค่าบำรุงรักษาต่ำ มีระยะเวลาการใช้งานที่ยาวนานคุ้มค่ากับราคา อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกด้วย ด้วยลักษณะเด่นนี้เราจึงนำสแตนเลสมาเป็นวัสดุหลักในการผลิตขาตั้งไมค์รุ่น Pro-SSM โดยขาตั้งไมค์รุ่นนี้รับรองความคุ้มค่าในการใช้งานเพราะเราใช้สแตนเลสในการผลิตทั้งหมด



Cr.เว็บไซต์: Pixabay

สแตนเลส หรือ เหล็กกล้าไร้สนิม เป็น ศัพท์ทั่วไปที่ใช้เรียกเหล็กใน กลุ่มที่มีความต้าน ทานการกัดกร่อนสูง สแตนเลสเป็นโลหะผสมระหว่างเหล็กและคาร์บอน ซึ่งส่วนประกอบจะมีปริมาณคาร์บอนที่ต่ำ และมีโครเมียม (Chromium) เป็นส่วนผสมหลักประมาณ 10.5 % หรืออาจจะมากกว่าทำให้เกิดการสร้างฟิล์มโครเมียมออกไซด์ที่ไม่สามารถมองได้ด้วยตาเปล่า และฟิล์มตัวนี้นี่เองที่ช่วยปกป้องไม่ให้มีอะไรมากัดกร่อนสแตนเลสได้ แม้จะถูกทำลายด้วยสารเคมีและออกซิเจนในบรรยากาศไปบ้าง แต่ก็จะมีการสร้างฟิล์มขึ้นมาทดแทนใหม่และคอยปกป้องสแตนเลสอยู่เสมอ

เกร็ดความรู้: โลหะโครเมียม (Chromium) เป็นส่วนที่สำคัญในการทำให้สแตนเลสมีความต้านทานต่อกัดกร่อนและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง โดยการเพิ่มโลหะโครเมียมเข้าไปในเหล็กช่วยลดการกัดกร่อนและสกปรกจากสารเคมี และช่วยให้สแตนเลสมีความต้านทานต่อการเกิดสนิม


Cr.เว็บไซต์: Pixabay


สแตนเลสสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท

ประเภทของสแตนเลสสามารถแบ่งได้ตามสูตรที่ใช้ผสมและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน

1.กลุ่มออสเทนนิติค (Austenitic)

สแตนเลสชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด มีความต้านทานต่อการกัดกร่อนได้ดีเป็นสแตนเลสที่ประกอบด้วยคาร์บอนอย่างน้อย 0.15 เปอร์เซนต์ มีส่วนผสมของโครเมียมอย่างน้อย 16 % และ นิกเกิล สามารถทนความร้อนได้ดี มักใช้ในการผลิตอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมอาหาร การแพทย์ และอุตสาหกรรมเครื่องกลอาทิเช่นผลิตภัณฑ์เครื่องครัว เครื่องมือที่ใช้ในโรงพยายาบาล เครื่องเวชภัณฑ์ ส่วนประกอบของเตาหลอม ท่อนำความร้อน และแผ่นกันความาร้อนในเครื่องยนต์


Cr.เว็บไซต์: Pexels

 


Cr.เว็บไซต์: Pixabay

2.กลุ่มเฟอร์ริติค (Ferritic)

สแตนเลสชนิดนี้มีส่วนประกอบหลักเป็นโครเมียม 10.5-27% และอาจมีการผสมนิกเกิ้ลหรือโมลิบดินัม ไททาเนียม เข้าไปอีกเล็กน้อย มีความต้านทานต่อการกัดกร่อนและสามารถดูดแม่เหล็กได้และมีน้ำหนักเบา  มักใช้ในการผลิตอุปกรณ์ที่ต้องการความคงทนต่ออุณหภูมิสูง เช่น เตาแก็สและอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมครัวเรือน อาทิเช่น อุปกรณ์ตกแต่งในอาคาร ช้อนส้อม มีด และเครื่องใช้ในครัว อ่างล้าง อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน แกนถังปั่นเครื่องซักผ้าและเครื่องล้างจาน และด้วยคุณสมบัติที่กล่าวมาของสแตนเลสบริษัทของเราก็เลือกใช้สแตนเลศในการผลิตขาตั้งไมค์โครโฟนเช่นกัน

Cr.เว็บไซต์:Pex


Cr.เว็บไซต์: Pixabay

 

3.กลุ่มมาร์เทนซิติค (Martensitic)

มีความต้านทานการกัดกร่อนน้อยกว่าออสเทนนิติค และเฟอร์ริติค เพราะมีส่วนผสมของโครเมียมน้อยกว่าใช้เพียง 12 -14 % โมลิบดินัม 0.2-1 % มีนิกเกิ้ล 0-2 % และมีคาร์บอนผสม อยู่ประมาณ 0.1-1 % แต่มีความทนทานและแข็งแรงมากกว่าซึ่งมาจากการชุบแข็ง โดยการทำให้โลหะร้อนแล้วนำไปโดนความเย็น มีคุณสมบัติดูดแม่เหล็กด้วย มักใช้ในด้านการผลิตด้ามมีดและเครื่องมือที่ต้องการความทนทานอาทิเช่น ทำใบมีด เครื่องมือผ่าตัด ตัวยึด หัวฉีด เพลา และสปริง โดยทั่วไปผลิตออกมาในรูปเป็นท่อนแบน แผ่น และงานหล่อ


Cr.เว็บไซต์: Pixabay

 


Cr.เว็บไซต์: Pixabay

4.กลุ่มดูเพล็กซ์ (Duplex)

เป็นการผสมระหว่างสแตนเลสประเภทออสเทนนิติคและเฟอร์ริติค มีความต้านทานต่อการกัดกร่อนและความร้อนที่ดี มักใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการความแข็งแรงและความต้านทานต่อแรงกด ใช้โครเมียม 19-28% โมลิบดินัมสูงกว่า 5% และมีนิกเกิลน้อยกว่าตระกูลออสเทนนิติคใช้งานมากในสภาพแวดล้อมที่มีคลอไรด์สูง เช่น โครงสร้างทะเลและอุตสาหกรรมน้ำเค็มอาทิเช่น อุปกรณ์หล่อเย็นด้วยน้ำทะเล การกลั่นน้ำทะเลให้บริโภคได้ อุตสาหกรรม หมักดอง เหมืองฉีดน้ำ อุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส


Cr.เว็บไซต์: Pixabay


Cr.เว็บไซต์: Pixabay

 

ต่อมาเรามาดูประโยชน์ของสแตนเลสกัน ว่าทำไมจึงผู้นิยมเลือกใช้สเตนเลสกันอย่างแพร่หลาย ไม่แต่เพียงเพราะเรื่องของความแข็งแรงทนทานและไม่เป็นสนิมเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะสแตนเลสมีคุณสมบัติอย่างอื่นอีกหลายข้อมาดูไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ

1. สแตนเลสมีความต้านทานต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นกรดหรือเบส เช่น การใช้งานในอุตสาหกรรมเครื่องปรุงอาหาร

2. มีความแข็งแรง ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานในอุปกรณ์ที่ต้องรับแรงกระแทกหรือแรงเสียดสี เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์ก่อสร้าง และอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมเครื่องกล

3. ทนต่อความร้อนและความเย็น สามารถทนได้กับอุณหภูมิสูงและต่ำ ทำให้เหมาะสำหรับใช้งานในอุปกรณ์ที่ต้องทนความร้อนเช่น เครื่องจักรกล หรือในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำ เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์

4. ลักษณะที่สวยงามและมีความเงาสว่าง ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความสวยงาม เช่น เครื่องประดับ อุปกรณ์ในครัวเรือน เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน และอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมสำหรับการแสดงสินค้า

5. สามารถต้านการเจริญเติบโตของเชื้อโรคและแบคทีเรีย ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานในอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุตสาหกรรมอาหาร

6. สแตนเลสไม่ต้องการการบำรุงรักษาที่ซับซ้อน เนื่องจากมีความต้านทานต่อการกัดกร่อนและสกปรก สามารถทำความสะอาดได้ง่ายโดยใช้น้ำสบู่หรือสารทำความสะอาดเครื่องใช้ประจำวัน

7. ง่ายต่องานประกอบ หรือแปรรูป สเตนเลส ส่วนใหญ่สามารถ ตัด เชื่อม ขึ้นรูป ตบแต่งทางกล ลากขึ้นรูป ขึ้นรูปนูนต่ำได้ง่าย ด้วยรูปร่าง สมบัติ และลักษณะต่างๆของสเตนเลสช่วยให้ ผู้ผลิตสามารถนำสเตนเลสไปประกอบกับวัสดุอื่นๆได้ง่าย


Cr.เว็บไซต์: Pixabay

 

 

จากประโยชน์ทั้งหลายที่กล่าวมานี้ สเตนเลสจึงเป็นวัสดุที่ถูกนำไปใช้ในการผลิตสินค้าที่ต้องการความแข็งแรงทนทานที่หลากหลาย แม้ว่าราคาของเครื่องครัวสเตนเลสอาจสูงกว่าเครื่องครัวประเภทอื่น แต่เมื่อนึกถึงข้อดีเหล่านี้แล้วก็ถือว่าคุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มอย่างแน่นอน