คุณสมบัติพิเศษของสว่าน
และวิธีใช้ที่ถูกวิธี
สวัสดีค่ะมาเจอกันอีกแล้วนะคะ ครั้งที่แล้วเราได้ไปทำความรู้จักกับตู้แร็คกันแล้วใช่ไหมคะ หากคุณรู้จักตู้แร็คกันอยู่แล้วเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่รู้จักสว่าน เพราะสว่านจะเป็นเครื่องมือช่างที่ช่วยให้เรานั้นประกอบอุปกรณ์เครื่องเสียงและตู้แร็ค (Rack)เข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นเครื่องมือช่างที่นายช่างหลายๆ คนใช้บ่อยๆ และยังเป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานที่นายช่างทุกคนต้องมี ดังนั้นสว่านจึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ตอบโจทย์การใช้งานได้หลากหลายประเภทได้เป็นอย่างดี มีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสว่านกันค่ะ เชื่อว่าหลายท่านคงเคยได้ยินคำนี้แล้วแต่อาจจะยังไม่รู้ถึงวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง และวิธีการบำรุงรักษาที่ทำให้เครื่องมือของเรานั้นสามารถใช้งานได้ยาวนาน ถ้าเป็นเช่นนั้นเรามาเริ่มทำความรู้จักกับเครื่องสว่านกันค่ะ
สว่าน (Drill) เป็นเครื่องมืองานช่างทั่วไป สามารถมาใช้งานได้กับวัตถุหลากหลาย เช่น ใช้ในงานไม้
งานปูนคอนกรีตหรือซีเมนต์ และงานโลหะ มีหน้าที่ใช้สำหรับเจาะรู และใช้ไขหรือคลายสกรูในการถอดและประกอบชิ้นส่วนต่าง
ๆ เข้าด้วยกันโดยที่ไม่ต้องออกแรงมาก
เป็นเครื่องมือที่เอาไว้ช่วยทุ่นแรงและประหยัดเวลาได้มาก โดยมีรูปทรงลักษณะคล้ายปืน
มีด้ามจับ ส่วนปลายเป็นปากสำหรับยึดดอกสว่าน
ซึ่งดอกสว่านมีลักษณะเป็นแท่งเกลียวยาวปลายแหลมที่สามารถหมุนเจาะทำให้เป็นรูได้
ดอกจะสว่านมีหลายประเภทและมีหลายขนาดสามารถถอดและเปลี่ยนดอกสว่านได้ตามต้องการ
สว่านมี 5 ประเภท
มีหน้าที่การทำงานที่ต่างกัน
1. สว่านไขควง
(Electric Screwdriver)
สว่านชนิดนี้มีกำลังไม่สูงมากนัก มีทั้งแบบไร้สาย ใช้แบตเตอรี่ และใช้ถ่าน หน้าที่หลักคือการไขสกรู จึงมีระบบควบคุมแรงบิดและรอบหมุน สามารถกลับทางหมุนได้ เพื่อให้เหมาะกับทั้งการไขสกรูและการคลายสกรู ซึ่งสว่านนั้นไขควงไฟฟ้าวิธีการใช้งานเหมือนกับไขควงธรรมดาเพียงแต่ว่าไม่ต้องใช้มือหมุนเป็นการหมุนด้วยมอเตอร์แทน หรือเรียกอีกแบบว่า “ไขควงไฮโซ” สว่านไขควงจึงเหมาะกับการไขสกรูและคลายสกรู เป็นต้น
Cr.เว็บไซต์: pexels
2. สว่านไฟฟ้า
(Electric Drill)
สว่านไฟฟ้าเป็นเป็นสว่านระบบเดียว คุณสมบัติเด่นของสว่านไฟฟ้าคือมีน้ำหนักเบา ถูกออกแบบมาเพื่อสำหรับงานเจาะไม้ เจาะเหล็ก เจาะพลาสติก ขันน็อต ขันสกรู แต่ก็ไม่สามารถเจาะปูน อิฐ และหินได้ ข้อดีของสว่านไฟฟ้านั้นก็คือผู้ใช้สามารถทำงานต่อเนื่องยาวนานได้ตลอดทั้งวัน จึงเป็นเครื่องมือที่คุณควรต้องมีติดบ้านไว้ใช้งานเบา ๆ เช่น เจาะชั้นไม้ หิ้งพระ ที่แขวนรูป ใช้เป็นไขควงไฟฟ้า ใช้ในงานฝีมือ DIY ต่างๆ เพราะมีขนาดเล็กน้ำหนักเบากว่าสว่านแบบอื่น หรืออาจจะไว้ใช้สำหรับเจาะเพดาน หรือเจาะเหล็กกล่องโครงหลังคาเพื่อยึดหลังคา แต่ในทางกลับกันก็มีข้อเสียคือขาดความคล่องตัว ความสะดวกในการทำงานเนื่องจากสายไฟที่เกะกะ โดยสว่านไฟฟ้าจะเน้นใช้กับงานไม้เป็นหลัก
3. สว่านเจาะปูน
(Impact Driver Electric)
สว่านเจาะปูนหรือเป็นที่รู้จักอีกชื่อหนึ่งว่าสว่านกระแทก มีลักษณะคล้ายกับสว่านไฟฟ้า แต่กำลังวัตต์จะสูงกว่า มีฟังก์ชันการทำงาน 2 ระบบ คือการเจาะ และการกระแทกที่ทำหน้าที่เหมือนค้อน สว่านประเภทนี้มักใช้สำหรับช่างที่ต้องการใช้งานครอบคลุมมากขึ้นในส่วนของการเจาะผนังบ้าน หรือเจาะปูนแบบก่อฉาบ เพราะระบบกระแทกจะมีเฟือง 2 ชิ้น เป็นกลไกในการทำหน้าที่เหมือนค้อน เพื่อทำการกระแทกลงไปที่ปูนขณะทำการเจาะ เป็นสว่านที่เหมาะทั้งสำหรับงานช่างทั่วไปและช่างอาชีพ และยังเป็นสว่านยอดฮิตที่ควรมีติดบ้าน
4. สว่านโรตารี่
(Hammer Drills
Electric)
หรืออาจจะเป็นที่รู้จักในชื่อสว่านเจาะกระแทกเป็นสว่านที่ออกแบบมาเพื่อเจาะคอนกรีต เหมาะกับงานที่มีน้ำหนักเยอะโดยเฉพาะ ข้อควรระวังของสว่านประเภทนี้คือห้ามออกแรกกดตัวเครื่องออกแรงเพียงประคองตัวเครื่องและกดดอกเท่านั้นพอ ไม่อย่างนั้นอาจเกิดความเสียหายต่อเครื่องมือได้ สว่านโรตารี่มี 3 ระบบ คือ ระบบเจาะ ระบบกระแทก และระบบสกัด แต่ในบางรุ่นก็จะมีเพียงแค่ระบบเจาะและระบบกระแทก ซึ่งระบบสกัดที่เพิ่มเข้ามาช่วยในงานสกัดปูนต่างๆ
5. สว่านไร้สาย (Cordless
drill)
โดยมีอีกชื่อคือสว่านแบต เป็นสว่านที่ออกแบบมาโดยการใช้กำลังไฟจากแบตเตอรี่จึงมีข้อจำกัดในเรื่องกำลังไฟ คือมีกำลังไฟน้อยกว่าสว่านทั่วไป มักจะสำหรับการใช้งานทั่วไปในบ้าน เหมาะกับการใช้งานนอกสถานที่ที่สายไฟไปไม่ถึง หรือการใช้งานบนที่สูงๆ สามารถพกพาสว่านไปใช้งานได้ในทุกๆที่ เพิ่มความคล่องตัวและสะดวกในการทำงานอย่างมาก และยังปลอดภัย ไม่ต้องกลัวฟ้าผ่า หรือไฟช็อต สว่านไร้สายมีทั้งเป็นสว่านไร้สายเจาะปูน และสว่านโรตารี่ไร้สาย
Cr.เว็บไซต์: pexels
เคล็ดลับ
4 ข้อในการจัดเก็บและบำรุงรักษาสว่าน
หากคุณดูเเลสว่านได้ตาม 4 ข้อนี้รับรองได้ว่าสว่านของท่านจะอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานในคราวต่อไปอย่างเเน่นอน
1. เมื่อใช้งานสว่านเสร็จแล้ว
ควรมีการทำความสะอาดทุกครั้ง
โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นซอกที่อาจมีเศษผงจากการเจาะเข้ามาติดในมอเตอร์
ซึ่งอาจทำให้สว่านพังหรือเกิดความเสียหายได้
2. ตรวจสอบตรวจซ่อมสว่านว่ายังคงมีสภาพการใช้งานได้ปกติ
รวมไปถึงสายไฟ ควรตรวจเช็คให้ละเอียด เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานในครั้งต่อไป
3. หลังจากใช้งานสว่านเสร็จ
ควรถอดดอกสว่านออกทุกครั้ง
และในส่วนที่เป็นโลหะควรเช็ดด้วยน้ำมันเพื่อป้องกันการขึ้นสนิม
4. เก็บสว่านและอุปกรณ์ต่าง ๆ ลงกล่องของมันให้ถูกที่ และไม่ควรเก็บไว้ในที่ชื้น ควรเก็บไว้ในที่เเห้ง
เป็นยังไงกันบ้างคะ
เห็นความแตกต่างและการทำงานของสว่านแต่ละประเภทกันแล้วใช่ไหมคะ ดังนั้นเพียงเราเลือกซื้อให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
การใช้งานให้ถูกต้อง และรู้จักเก็บรักษาสว่านและเครื่องมือช่างต่าง ๆ ให้เรียบร้อยหลังใช้งาน
ก็จะทำให้เราสามารถใช้งานเครื่องมือของเราได้อีกหลายปี
ประหยัดงบในกระเป๋าได้หลายบาทเลยค่ะ