ไม้อัดมีกี่ชนิด
การผลิตตู้แร็ค (Rack) จะมีวัสดุและอุปกรณ์หลากหลายชนิดที่ใช้ในการผลิตอาทิเช่น
อะลูมิเนียม รวมถึงวัสดุหลักที่ใช้ในการผลิตคือไม้อัดขนาด
18 มม. หรือเป็นที่รู้จักว่าไม้อัด 20 มม. นั่นเองซึ่งหลายๆ
ท่านอาจจะยังไม่เคยรู้ว่าไม้อัดก็มีหลากหลายชนิดด้วยกันมีคุณสมบัติ ข้อดี
ข้อเสียที่ต่างกันไป และใครที่สงสัยว่าไม้อัดแต่ละชนิดต่างกันยังไง
วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันค่ะ
ไม้อัดเป็นไม้สังเคราะห์ผลิตเพื่อมาทดแทนไม้จริงเพราะในปัจจุบันต้นไม้มีจำนวนลดลงไปมาก
ไม้อัดผลิตจากเศษไม้ที่เหลือจากการแปรรูป
หรือขี้เลื่อยผสมกับวัสดุอื่นและกาวเพื่อให้ไม้ยึดเกาะกัน โดยขั้นการผลิตและวัสดุจะแตกต่างกันจึงทำให้ไม้อัดมีเนื้อสัมผัสที่ต่างกัน
และมีความเหมาะสมในการใช้งานต่างกันไปด้วย
เราลองมาดูกันว่าไม้อัดชนิดไหนจะตอบโจทย์การทำงานของคุณบ้าง
1.ไม้ปาติเกิล (Particle Board)
ไม้ชนิดแรกที่เราจะมาทำความรู้จักกันคือไม้ปาติเกิลเป็นไม้ที่เราสามารถเห็นได้ทั่วไปส่วนมากใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
โดยมีการการนำเศษไม้ยางพารา ที่มีขนาดเป็นชิ้นเล็กๆ หรือ ขี้เลื่อย
นำมาผ่านกรรมวิธีอัดบดเป็นแผ่น ผสมกาว เพื่อเพิ่มการยึดเกาะ
และผ่านกระบวนการทางเคมีจนได้แผ่นไม้ขนาดต่าง ๆ
ลักษณะทั่วไปที่สังเกตได้ชัดของไม้ชนิดนี้คือจะมีความเหนียวที่ได้จากการประสานกันของเส้นใย
เนื้อไม้จะฟู ผิวสัมผัสหยาบ เนื้อไม้อัดจะไม่แน่นเพราะในเนื้อไม้จะมีโพรงอากาศเล็กๆ
เป็นจำนวนมาก
ข้อดี |
ข้อเสีย |
มีราคาถูกนิยมใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ |
ไม่กันน้ำ ไม่เหมาะกับการใช้งานที่ต้องสัมผัสน้ำหรือโดนความชื้น |
ไม้มีน้ำหนักเบาสามารถขนย้ายได้สะดวก |
เนื้อไม้ไม่แน่นอายุการใช้งานสั้น |
สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านวัสดุก่อสร้างหรือร้านขายไม้ทั่วไป |
ทาสีไม้อาจจะไม่สวยเพราะเนื้อไม้ไม่เรียบ |
ผ่านไปแล้วกับการทำความรู้จักไม้ชนิดแรก ได้รู้ถึงข้อดีและข้อเสียของไม้ปาร์ติเกิ้ลแล้ว บทความของเราอาจช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าไม้ชนิดนี้เหมาะสมกับงานของคุณหรือไม่
2. ไม้อัดเอ็มดีเอฟ (MDF:
Medium-Density Fiber board)
ไม้ชนิดที่ 2 คือ ไม้ MDF ย่อมาจากคำว่า
Medium-Density Fiberboard หรือ แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง ไม้ MDF ผลิตโดยการนำชิ้นไม้มาสับและบดจนละเอียด
มาผสมกับกาวชนิดพิเศษ แล้วผ่านกระบวนการอัดเป็นแผ่นด้วยเครื่องอัดคุณภาพสูงมากซึ่งกระบวนการผลิตก็ไม่ต่างจากการทำไม้ปาร์ติเกิ้ลเท่าไหร่เลย
เรามาดูลักษณะเด่นของไม้ MDF กัน เนื้อไม้ชนิดนี้จะมีความแน่น
และละเอียด ผิววัสดุจะมีความเนียนมากกว่าไม้ปาร์ติเกิ้ล
หากตอนนี้คุณกำลังมองหาไม้ที่ผิวเรียบเนียนไม้อัดชนิดนี้ตอบโจทย์เลยค่ะ
ข้อดี |
ข้อเสีย |
สามารถทาสีไม้ได้สวยงามเพราะผิวไม้เรียบเนียน |
ไม่กันน้ำ
ไม่ควรโดนน้ำเพราะอาจจะเกิดเชื้อราได้ง่าย |
ไม้มีความแข็งแรง
รับน้ำหนักได้มาก เนื้อไม้แน่น หากคุณต้องการตัด เจาะ ไส ก็จะทำได้ง่าย |
เนื้อไม่มีลักษณะแน่นจึงทำให้เวลาตัด
หรือเจาะไม้มีฝุ่นกระจายอยู่มาก |
สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านวัสดุก่อสร้างหรือร้านขายไม้ทั่วไป |
มีน้ำหนักมากกว่าไม้ปาร์ติเกิ้ล |
สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านวัสดุก่อสร้างหรือร้านขายไม้ทั่วไป |
|
เป็นยังไงกันบ้างคะ
กับไม้ MDF
ทุกคนน่าจะเคยเห็นบ่อยๆ ตามเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านหรือที่ทำงาน
หากท่านต้องการทำเฟอร์นิเจอร์หรืองานไม้ที่ไม่ได้ใช้งานกลางแดดหรืออยู่ใกล้น้ำ ไม้
MDF ก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจเลย
3. ไม้อัด (Plywood)
และก็มาถึงไม้อัดชนิดที่ 3 ที่เราจะมาทำความรู้จักแล้วค่ะ ไม้อัดชนิดนี้ถือว่าเป็นไม้อัดยอดฮิตเลยเพราะเห็นได้บ่อยที่สุดในชีวิตประจำวัน
ซึ่งไม่อัดชนิดนี้ได้มาจากการตัดท่อนซุงให้มีความยาวตามที่่ต้องการ แล้วกลึงปอกท่อนซุงหรือผ่า
ให้ได้แผ่นไม้เป็นแผ่นบาง ๆ หลายแผ่นมาอัดเข้าด้วยกัน แล้วใช้กาวเพื่อเพิ่มการยึดเกาะ
และทำให้ผ่านกระบวนการผลิตไม้อัดที่ผ่านการอัดด้วยความร้อนและแรงดัน ซึ่งขนาดความหนาของไม้อัดทั่วไปก็จะมีให้เลือกหลายขนาด
ตั้งแต่ 3, 4, 6, 10, 15 ไปจนถึง 20
มม.
ลักษณะเฉพาะที่เราสังเกตได้ชัดเจนของไม้อัดคือ
เรื่องของความทนทาน แข็งแรง และคุณสมบัติพิเศษต่างๆ เช่นกันน้ำ กันปลวก เป็นต้น
มีความคล้ายไม้แผ่นมากที่สุด
ซึ่งนี้เป็นจุดขายของไม้อัดที่ทำให้มีการนำไปใช้ในงานต่างๆ ได้หลากหลาย
ข้อดี |
ข้อเสีย |
คงรูปได้ดี ไม่บิด โก่ง งอ และตอกยึดได้ดี |
ราคาสูง |
มีความแข็งแรง
ใช้ทำโครงสร้างได้
|
เนื้อไม่มีลักษณะแน่นจึงทำให้เวลาตัด
หรือเจาะไม้มีฝุ่นกระจายอยู่มาก |
สามารถกันน้ำได้ดี
และยังกันปลวกได้ด้วย |
มีน้ำหนักมากเพราะใช้ไม้หลายแผ่นอัดเข้าด้วยกัน |
มีลักษณะและผิวสัมผัสคล้ายแผ่นไม้ที่สุด |
|
ไม้อัดในปัจจุบันนี้ได้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ได้ถูกนำไปใช้สารพัดวัตถุประสงค์ ทั้งยังสะดวกในการใช้งาน และให้ความสวยงาม และยังมีคุณภาพสูงเหมาะแก่การนำไปทำงานไม้ต่างๆ อีกด้วย
สุดท้ายนี้หากเลือกใช้งานไม้แต่ละชนิดให้ถูกประเภท
ถูกวิธี ก็จะช่วยให้การทำงานง่ายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามการเลือกผลิตภัณฑ์ไม้จากแบรนด์ที่ได้มาตรฐานรับรองก็เป็นสิ่งจำเป็นด้วยเช่นกัน
หวังว่าบทความนี้คงทำให้หลายคนได้เข้าใจถึงประเภทและคุณสมบัติต่าง ๆ ของไม้กันมากขึ้น