อันตรายและการป้องกันจากเครื่องใช้ไฟฟ้า!!
ในปัจจุบันนี้ไม่สามารถเถียงได้เลยว่าการใช้ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการใช้ชีวิตในแต่ละวันเพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดนั้นมีทั้งประโยชน์และโทษ
หากใช้อย่างถูกต้อง ถูกวิธี ก็จะมีคุณค่าเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกได้มากๆ ใช่ไหมล่ะคะ
อาทิเช่น โทรศัพท์ก็นับว่าเป็นเป็นปัจจัยที่ 5 ของผู้คนในโลกสมัยใหม่นี้
นั้นก็ต้องใช้ไฟฟ้าในการเติมแบตเตอรี่ และถ้าหากว่าคุณทำอาชีพที่ต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดเช่นทำงานเกี่ยวกับเครื่องเสียงนับว่าเสี่ยงอันตรายอยู่พอสมควร
เพราะต้องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากก็อาจจะมีอันตรายตามมาได้หากไม่ระวังตัวให้ดี
เพราะเราก็รู้อยู่กันดีอยู่แล้วนะคะว่าไฟฟ้ามีอันตรายแค่ไหน
มันอาจจะทำให้คุณเจ็บแปล๊บๆ หรือมากที่สุดอาจจะเกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้เลย แต่ว่าเราก็สามารถหลีกเลี่ยงจากอันตรายนี้ได้
รบกวนอ่านบทความนี้สักนิดอาจจะเป็นประโยชน์ต่อคุณได้
อันดับแรกเราขอแนะนำตู้แร็ค (Rack) เป็นอุปกรณ์ช่วยจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องเสียงเพื่อให้คุณใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ
ได้สะดวกและสามารถจัดเก็บสายไฟให้เป็นระเบียบได้
ดังนั้นตู้แร็คจะเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้คุณหลีกเลี่ยงอันตรายจากไฟฟ้าได้แน่นอนค่ะ
อันตรายจากไฟฟ้า
มาเริ่มกันเลยค่ะ
คุณรู้จักไฟฟ้าดีแค่ไหนกัน
แม้ว่าอันตรายจากไฟฟ้าจะพบได้น้อยกว่าอันตรายจากน้ำร้อนลวก หรือ บาดเจ็บจากของร้อน
แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความรุนแรง และอันตรายจากไฟฟ้านั้นเสี่ยงต่อชีวิตมากจริงๆ
1. ไฟฟ้าลัดวงจร
(Short
Circuit) หลายๆ
ท่านคงจะได้ยินบ่อยจากข่าวไฟไหม้ใช่ไหมล่ะคะ ซึ่งข้อสันนิษฐานแรกของเหตุไฟไหม้เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร
คงรู้ถึงอันตรายและความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามากขนาดไหน และสาเหตุ
มาจากฉนวนไฟฟ้าชำรุดหรือเสื่อมสภาพ
แรงดันที่ใช้เกินขนาดหรือมีกระแสไฟฟ้าเกินขนาดของสายไฟฟ้าและถ้าคุณใช้ไฟฟ้าที่ไม่ถูกต้อง
ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ได้มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรแล้วจะมีส่งผลให้
สายไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดเสียหาย อาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ ทรัพย์สินเสียหาย
และบุคคลที่อยู่ในที่เกิดเหตุได้รับอันตรายบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้
2.
ไฟฟ้าดูด (Electric Shock) เชื่อได้เลยค่ะว่ามีผู้คนจำนวนมากเคยมีประสบการณ์ไฟฟ้าดูดหรือไฟดูด
เป็นประสบการณ์ที่ไม่ดีและไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นเลยใช่ไหมคะ
แต่บางครั้งเราก็ไม่อาจจะเลี่ยงได้ ไฟฟ้าดูดเกิดจากการที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมีผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเกร็ง
จนไม่สามารถสะบัดให้หลุดได้ ปริมาณของซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายทำให้เสียชีวิต
หรือพิการ และท่านใดเคยไม่สวมรองเท้าแล้วไฟฟ้าดูดบ้างคะ เป็นเพราะว่าพื้นดินเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า
มีแรงดันทางไฟฟ้า ดังนั้นเมื่อเราสัมผัส
ส่วนใดใดที่มีแรงดันไฟฟ้าขณะที่ร่างกายยืนอยู่บนพื้นดินกระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านร่างกายลงดินครบวงจรจึงทำให้ถูกไฟฟ้าดูดค่ะ
และคุณรู้หรือไม่คะว่าจริงๆ แล้วไฟฟ้าดูดยังแบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ
2.1 การสัมผัสโดยตรง
(Direct Contact) คือการที่ส่วนร่างกายของเราสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง
เช่น สายไฟฟ้ารั่ว เพราะฉนวนไฟฟ้าชำรุดแล้วเราเอามือไปจับหรือจากการที่เราเอาโลหะหรือตะปูแหย่เข้าไปในปลั๊ก
2.2 การสัมผัสโดยอ้อม
(Indirect Contact) ก็คือการที่ส่วนของร่างกายเราไม่ได้สัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรงแต่เกิดจากการที่เราไปสัมผัสกับ
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าจึงปรากฏอยู่บนพื้นผิวของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น
ๆ เมื่อเราไปสัมผัสโดนก็เลยถูกไฟฟ้าดูด
วิธีป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า
ในเมื่อเรารู้ถึงอันตรายของไฟฟ้าแล้ว
ก็มาดูการป้องกันที่ถูกวิธีและลดความเสี่ยงจากอันเกิดจากไฟฟ้าเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายให้กับตนเองและคนรอบข้าง
ได้ค่ะ
1. เราควรเลือกซื้อเครื่องใช้ที่ได้รับรองจากการทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
คุณภาพของสินค้าเป็นอย่างแรกเลยค่ะที่เราควรคำนึงถึงเมื่อเราซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า
หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
2.
เมื่อเราได้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพดีแล้ว
ต่อมาเราคำนึงถึงวิธีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดต้องเป็นไปตามหลักและกฎความปลอดภัย
โดยมีช่างไฟฟ้าผู้ชำนาญการเป็นคนดูแล
3. ถ้าเราหมั่นตรวจสอบระบบไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมออาทิเช่น
เต้าเสียบ เต้ารับ ฉนวนไฟฟ้า สวิตช์ ก็จะเป็นการป้องกันอันตรายที่ได้ประสิทธิผลมากที่สุด
เพราะถ้าเราตรวจสอบแล้วเจอระบบไฟฟ้าที่มีปัญหาก็จะสามารถแก้ไขได้ทันเวลา
4. บำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้า
โดยช่างผู้ชำนาญการ อย่างสม่ำเสมอ และควรอ่านคู่มือเพื่อเป็นแนวทางให้คุณได้รู้ถึงวิธีการดูแลอย่างถูกวิธี
5. การต่อสายกราวด์ของระบบไฟฟ้าลงดิน
ซึ่งจะต้องเดินสายไฟฟ้าให้มีระบบต่อลงดิน รวมทั้งต้องติดตั้งเต้ารับไฟฟ้าชนิดที่มีขั้วสำหรับสายซึ่งจะเป็นการป้องกันเมื่อคุณสัมผัสหรือใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีไฟรั่ว
6. ใช้การหุ้มฉนวนส่วนที่มีไฟฟ้ามีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดไฟรั่ว (Insulation of Live Parts) เช่นสายไฟ หรือส่วนที่มีโอกาสสัมผัสส่วนทองแดงหรือโลหะที่มีไฟฟ้าได้
7.
เบรกเกอร์จะไม่สามารถตัดวงจรได้เนื่องจากไฟฟ้าดูดได้ ดังนั้นจึงต้องมีอุปกรณ์ตัดไฟฟ้ารั่วอัตโนมัติมาร่วมทำงานด้วยโดยใช้อุปกรณ์ประเภท
RCD
(Residual Current Devices) ทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้ารั่วได้
และทั้งหมดนี้คือวิธีการป้องกันและอันตรายจากไฟฟ้า
และสามารถทำตามได้ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ คุณควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และหวังว่าทุกท่านจะไม่ประมาทในการใช้ไฟฟ้าเพราะโทษของมันทำให้เกิดความเสียหายได้อย่างมหันต์
ในสุดท้ายนี้เราหวังว่าบทความของเราจะมีประโยชน์ต่อทุกคนที่เข้ามาอ่านนะคะ