มาทำความรู้จักท่อเหล็กกันค่า

Aug 19, 2023
เรื่องทั่วไป
มาทำความรู้จักท่อเหล็กกันค่า


มาทำความรู้จักท่อเหล็กกันค่า

สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาทำความรู้จักท่อเหล็กกัน ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมต่างๆ ในยุคนี้ได้นำท่อเหล็กไปในการสร้างผลิตภัณฑ์อย่างแพร่หลายเป็นระยะเวลานานแล้ว และอีกทั้งนำไปใช้ในอุสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร เฟอร์นิเจอร์ เครื่องจักรกล และอื่นๆ อีกมากมาย


 Cr.เว็บไซต์: Pixabay


Cr.เว็บไซต์: Pixabay

 

เมื่อพูดถึง ท่อเหล็ก (Steel Pipe) หลายๆ ท่านอาจจะยังไม่เคยรู้ว่ามันเป็นวัสดุที่ผลิตมาจากเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรง ทนทานเป็นพิเศษ ทนต่อสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศ ทนต่อสารสารเคมี เช่นนั้นเหล็กหล่อจึงผ่านการพัฒนาและปรับปรุงมาอย่างยาวนาน จนปัจจุบันมีคุณสมบัติเทียบเท่าเหล็กกล้า ดังนั้นเราจึงเลือกท่อเหล็กเป็นวัสดุหลักในการผลิตขาตั้งไมค์ (Microphone Stand) และขาตั้งตู้ลำโพง (Speaker Stand) ซึ่งจะมีหลายรุ่นแตกต่างกันไปอีกด้วยค่ะ มาเริ่มทำความรู้จักท่อเหล็กกันว่ามีกี่ประเภทและส่วนมากใช้ทำอะไรบ้างกันค่ะ


ท่อเหล็กนั้นจะมีหลายชนิดด้วยกันทั้งท่อเหล็กขนาดเล็ก ท่อเหล็กขนาดใหญ่ และท่อเหล็กหล่อ ซึ่งทั้ง 3 ชนิดนี้ก็มีคุณสมบัติเฉพาะตัว และมีหน้าที่ที่ต่างกัน

1. ท่อเหล็กขนาดเล็ก เป็นท่อที่สามารถเห็นได้ทั่วไปและหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายวัสดุก่อสร้างใช้ในการทำบ้านเรือน และสามารถใช้เป็นวัสดุในการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิเช่น ท่อเหล็กอาบสังกะสี และท่อเหล็กดำ

2. ท่อเหล็กขนาดใหญ่ ส่วนมากจะใช้ในอุตสาหกรรมการประปา ระบบขนส่งก๊าซ ท่อน้ำมัน ระบบขนส่งน้ำมัน การไฟฟ้า ซึ่งจะมีหน่วยงานรัฐบาลเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง

3. ท่อเหล็กหล่อ จะมีความทนทาน ทนสภาพอากาศ และสารเคมีสูง จึงนิยมใช้ในงานระบบน้ำทิ้งภายนอกอาคารหรือใช้ทดแทนท่อ PVC 


Cr.เว็บไซต์: Pixabay

ท่อเหล็กก็จะแบ่งย่อยได้หลายประเภทกำหนดตามประเภทการใช้งานดังนี้ค่ะ

1. ท่อเหล็กร้อยสายไฟ

ตามชื่อเลยค่ะ ท่อเหล็กชนิดนี้จะมีจุดเด่นคือเอาไว้ใช้ร้อยสายไฟสำหรับงานเดินสายไฟก็ จะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดกับสายไฟค่ะ เช่น การถูกกดทับ เสียดสี หรือในพื้นๆ ที่มีความไม่เหมาะสมที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสายไฟ ทำให้เสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยการใช้งานท่อเหล็กร้อยสายไฟก็มีการแบ่งหมวดออกไปอีก 4 หมวด คือ 


Cr.เว็บไซต์: Pixabay

ท่อโลหะเนื้อบาง (Electrical Metallic Tubing หรือ EMT) จุดเด่นคือ ตัวท่อมีความมันวาว เนื้อเรียบมี เหมาะสำหรับใช้เดินลอยในอากาศ หรือฝังในผนังคอนกรีต แต่ห้ามใช้ฝังดิน พื้นคอนกรีตและไม่สามารถบิดเกลียวได้ 

ท่อโลหะเนื้อปานกลาง(Intermediate Metal Conduit หรือ IMC) เหมาะสำหรับใช้เดินนอกอาคารหรือฝังในผนังหรือพื้นคอนกรีต

ท่อโลหะเนื้อหนา (Rigid Steel Conduit หรือ RSC)  ท่อชนิดนี้สามารถใช้งานได้ทั้งภายนอก-ภายใน และฝังในผนังหรือพื้นคอนกรีตก็ได้ 

ท่อโลหะอ่อน (Flexible Metal Conduit) คุณสมบัติเด่นคือ มีความอ่อนตัว ยืดหยุ่นสูง สามารถนำไปดัดให้โค้งงอได้ตามความต้องการได้โดยท่อไม่เสียหายและกระทบต่อการใช้งาน ทนต่อความ เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่แห้ง แต่ไม่เหมาะใช้ในพื้นที่เปียกและไม่ควรฝังดินหรือพื้นคอนกรีต

 

2. ท่อเหล็กอาบสังกะสี หรือ ท่อเหล็กกัลวาไนซ์ (Galvanized Pipe)  

ท่อประปาเหล็กอาบสังกะสี จะเป็นท่อเหล็กที่ผลิตมาจากเหล็กกล้าขึ้นรูปที่ต้องการแล้วนำไปชุบสังกะสีเพื่อเพิ่มความทนทานและป้องกันสนิมขึ้น


Cr.เว็บไซต์: Pixabay

เป็นท่อเหล็กท่อชุบสังกะสีชนิดจุ่มร้อน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงป้องกันสนิม ทนต่อการกัดกร่อน ไม่เป็นสนิม ยืดอายุการใช้งานมากกว่าท่อเหล็กทั่วไป 2-3 เท่า นิยมใช้งานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานผลิตเคมีภัณฑ์ งานท่อระบายน้ำ ท่อน้ำทิ้ง ท่อลำเลียง หรืองานที่ต้องทนรับแรงกด แรงกระแทกสูงๆ หรืองานที่ท่อเสี่ยงต่อการถูกทับด้วยเครื่องจักรเยอะๆ เพราะท่อชนิดนี้จะค่อนข้างแข็งแรงทนทาน ไม่แตกหักง่าย


Cr.เว็บไซต์: Pixabay

3. ท่อกลมดำ (Carbon Steel Tubes)

ท่อเหล็กกลมดำเป็นท่อที่มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ท่อแป๊บดำ เหล็กหลอด เหล็กกลมดำ ท่อดำ โดยเหล็กท่อกลมดำ ฯลฯ จุดเด่นคือ มีน้ำหนักเบา ความแข็งแรงทนทาน รับแรงดันได้ดี นิยมนำไปใช้ในงานก่อสร้างที่ขึ้นโครงสร้างที่ไม่ต้องรับน้ำหนักเยอะๆ โครงนั่งร้าน เฟอร์นิเจอร์ ป้ายต่างๆ และงานท่อประปา ท่อชลประทาน ระบบน้ำภายในอาคารขนาดเล็ก-กลาง การใช้งานมักจะนำไปใช้ในงานภายนอกอาคาร หรือใกล้กับน้ำ ใช้เป็นท่อลำเลียง ท่อชลประทาน ท่อสำหรับเดินสายไฟภายนอกอาคาร และงานขึ้นรูป


Cr.เว็บไซต์: Pixabay


Cr.เว็บไซต์: Pixabay

จะเห็นได้ว่าประเภทท่อเหล็กที่เราได้นำมาฝากในบทความนี้มีหลากหลายชนิด มีหน้าที่ ลักษณะต่างกัน และถูกพัฒนามาจากเหล็กกล้าที่มีความทนทานสูงเพื่อเอื้ออำนวยต่อระบบอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อก่อประโยชน์ให้สูง และในปัจจุบันนี้เหล็กหล่อได้มีการพัฒนาด้านการผลิตเพื่อรองรับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ ด้วยคุณสมบัติของเหล็กหล่อที่มีอย่างหลากหลาย จึงสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ ทั้งนี้ทั้งนั้นเราหวังว่าบทความเกี่ยวกับท่อเหล็กนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่เข้ามาอ่านกันนะคะ 


Cr.เว็บไซต์: Pexels